xnxx xvideos xnxx xvideos tweensexxx realpornhero Free sex tube Hot porn clips pornags.com Hd porn video Porn new xxx bf video xxx video download xvideos2.com xxx bf video xvideos.com freexxxvideosporn xxxsextresxxx telexxxporn sexporntubexxx xvideos.com pornvixxx xvideos.com bozpornxxx xvideos.com

สสว.ดันมาตรการ THAI SME-GP ปี 2565 สร้างความเป็นธรรมและกระจายถึง SME ทั่วประเทศ

หน้าหลัก | ระบบทะเบียน SME เพื่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

สสว.ดันมาตรการ THAI SME-GP ปี 2565 สร้างความเป็นธรรมและกระจายถึงเอสเอ็มอีทั่วประเทศ

สสว. ร่วมกับกรมบัญชีกลาง ขับเคลื่อนมาตรการ THAI SME-GP ฉบับปรับปรุงปี 65 มุ่งลดอุปสรรคและสร้างโอกาสเข้าถึงตลาดภาครัฐที่เป็นธรรมและทั่วถึง ด้วยแต้มต่อร้อยละ 10 และเปิดให้เอสเอ็มอี รายเล็กๆ เข้าถึงได้สะดวก ขณะที่ระบบ THAI SME-GP เติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดมีเอสเอ็มอีขึ้นทะเบียนกว่า 1.24 แสนราย และรายการสินค้า/บริการ รวมกว่า 1 ล้านรายการ

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ตามที่กรมบัญชีกลาง ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ตามหนังสือเวียนกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค.(กวจ) 0405.2/ว 78 ลงวันที่ 31 มกราคม 2565 (ว 78) และเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 สสว. ร่วมกับกรมบัญชีกลาง จัดประชุมเพื่อเผยแพร่และรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (THAI SME-GP) ฉบับปรับปรุงปี 2565 โดยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออฟไลน์ และ Zoom Meeting / Facebook Live รวมกว่า 3,000 คน

"การประชุมได้รับความสนใจจากเอสเอ็มอี เกินความคาดหมาย ทีมผู้บริหารของกรมบัญชีกลาง นำโดยนายสมศักดิ์ ภู่สกุล รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง และ สสว. ร่วมรับฟังและให้ข้อมูลการปรับปรุงมาตรการ THAI SME-GP และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการปรับปรุงในครั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาและลดอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีคัดเลือก ทั้งเรื่องการสมยอมราคา สร้างความเป็นธรรม และลดภาระงานของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยให้คงสิทธิประโยชน์กับเอสเอ็มอี ด้วยแต้มต่อไม่เกินร้อยละ 10 ในการเสนอราคาด้วยวิธี e-bidding ที่ใช้เกณฑ์ราคา และเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้เอสเอ็มอีที่ได้รับการรับรองเป็นสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ (Made in Thailand) ด้วยแต้มต่อไม่เกินร้อยละ 15 ขณะเดียวกันยังกระจายประโยชน์ไปยังเอสเอ็มอีรายเล็กๆ ให้เข้าถึงงานที่มีวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาท ได้ง่ายขึ้น โดยกำหนดให้หน่วยงานรัฐจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงจากเอสเอ็มอีเป็นลำดับแรก" นายวีระพงศ์ กล่าว

ผอ.สสว. เผยอีกว่า การให้ความสำคัญกับวิธีเฉพาะเจาะจงในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท ที่กำหนดเป็นวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในครั้งนี้ เนื่องจากในรอบปี 2564 หน่วยงานภาครัฐจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีนี้กว่า 3 แสนล้านบาท จึงนับเป็นการกระจายโอกาสสู่กลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กๆ ได้อย่างดี ส่วนประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก คือ กรณียกเว้นการกำหนดให้หน่วยงานรัฐจัดซื้อจัดจ้างสินค้า/บริการที่ขึ้นทะเบียนในระบบ THAI SME-GP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 โดยผู้ประกอบการเห็นว่า จะเป็นการลดโอกาสเอสเอ็มอีในการเข้าถึงตลาดภาครัฐ เพราะจะทำให้หน่วยงานภาครัฐไม่สนใจจะซื้อสินค้าหรือบริการจากเอสเอ็มอี กรณีนี้กรมบัญชีกลางให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาภาครัฐมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า/บริการจากเอสเอ็มอีร้อยละ 44.32 คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยว่า 5.5 แสนล้านบาทอยู่แล้ว ส่วนการยกเว้นให้หน่วยงานภาครัฐไม่ต้องจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีคัดเลือกจากเอสเอ็มอี ในพื้นที่ที่ขึ้นบัญชีรายชื่อและรายการสินค้ากับ สสว. ในระบบ THAI SME-GP ไม่น้อยกว่า 6 ราย ก็เพื่อแก้ปัญหาดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติฯ ซึ่งเริ่มมีผลอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นมา กรมบัญชีกลางได้จัดทำคู่มือปฏิบัติฯ และเผยแพร่ไปยังหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ผ่านเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง และ www.thaismegp.com ของ สสว. เรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกันจะมีการติดตามประเมินผลแนวทางปฏิบัติฯ ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2565 หรือ ว 78 อย่างใกล้ชิดเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน เพื่อผลในการพิจารณาปรับปรุงสิทธิประโยชน์หรือขยายโอกาสให้เกิดประโยชน์กับผู้ประกอบการให้มากที่สุดในอนาคต

สำหรับผู้ประกอบการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้มาตรการสนับสนุนให้เอสเอ็มอีเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (THAI SME-GP) จะต้องมีคุณสมบัติเป็นเอสเอ็มอีตามนิยามที่ สสว. กำหนด คือ ถ้าเป็นผู้ประกอบการในภาคการผลิตต้องมีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี ถ้าอยู่ในภาคการค้า/บริการ ต้องมีรายได้ไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อปี โดยจะต้องขึ้นทะเบียนในเว็บไซต์ www.thaismegp.com และได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการเสนองานเรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ดีระบบ THAI SME-GP ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญของเอสเอ็มอีในการเข้าสู่ตลาดภาครัฐ ข้อมูล ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนรวมทั้งสิ้น 124,500 ราย มีรายการสินค้าและบริการรวม 1,009,000 รายการ ในรอบปี 2564 (มกราคม-ธันวาคม 2564) ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนฯ ได้รับการจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานภาครัฐ (วิธีเฉพาะเจาะจง วิธีการคัดเลือก และวิธี e-bidding) คิดเป็นมูลค่ารวม 551,365.50 ล้านบาท กลุ่มงานที่มีการจัดซื้อจัดจ้างมูลค่าสูง เช่น งานจัดซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์การก่อสร้างอาคาร งานรับเหมาก่อสร้าง ซ่อมแซม บำรุงรักษา ถนน/อาคาร วัสดุที่ใช้ในโรงพยาบาล และวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า-คอมพิวเตอร์ วัสดุสำนักงาน ฯลฯ หน่วยงานที่จัดซื้อจัดจ้างมากที่สุดลำดับต้นๆ เช่น กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท ฯลฯ ส่วนในปี 2565 นี้ สสว. กำหนดเป้าหมายการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มในการจัดซื้อจัดจ้างผ่านกลุ่มธุรกิจที่เป็นเป้าหมายของประเทศ อาทิ ธุรกิจเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ธุรกิจการบินและชิ้นส่วนอากาศยาน เป็นต้น


 ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ (21 กุมภาพันธ์ 2565)