xnxx xvideos xnxx xvideos tweensexxx realpornhero Free sex tube Hot porn clips pornags.com Hd porn video Porn new xxx bf video xxx video download xvideos2.com xxx bf video xvideos.com freexxxvideosporn xxxsextresxxx telexxxporn sexporntubexxx xvideos.com pornvixxx xvideos.com bozpornxxx xvideos.com

แนะกลยุทธ์ 2 เพิ่ม 2 หนุน พลิกฟื้นธุรกิจร้านอาหารหลังโควิด-19

20211020 Prachachat

แนะกลยุทธ์ 2 เพิ่ม 2 หนุน พลิกฟื้นธุรกิจร้านอาหารหลังโควิด-19

“กลยุทธ์ 2 เพิ่ม” เป็นข้อเสนอสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร SMEs ที่สามารถดำเนินการได้ เพื่อจูงใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการที่ร้าน และเป็นการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรใช้ “กลยุทธ์ 2 หนุน” ช่วย ได้แก่ 1.หนุน…ความมั่นใจให้กับประชาชน เมื่อมีการปรับมาตรการให้ร้านอาหารเปิดได้ ภาครัฐควรวางมาตรการระยะยาว

คอลัมน์ Smart SMEs >> ttb analytics

ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจ SMEs ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก โดยเฉพาะร้านอาหารเป็นกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาด (ล็อกดาวน์) โดยตรงอย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดที่ลดลงต่อเนื่อง และประชาชนได้รับวัคซีนมากขึ้น ทำให้ในต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ภาครัฐได้เริ่มผ่อนคลายกิจกรรมบางประเภท เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านเสริมสวย สปา รวมไปถึงร้านอาหาร แต่ต้องเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรการองค์กร ที่เรียกว่า “COVID-free setting” ด้วยการกำหนดมาตรการ ควบคุมดูแลสถานที่ ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค ให้สามารถเปิดกิจการและจัดกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย

สำหรับร้านอาหาร แม้ว่าจะได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการเปิดร้านได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการควบคุมที่จำกัดจำนวนผู้รับบริการ หากเป็นร้านนอกอาคาร นั่งรับประทานได้ 70% ร้านห้องแอร์ นั่งรับประทานได้ 50% การคลายล็อกดาวน์ดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้บริโภคกลับมาใช้จ่ายอย่างรวดเร็วอีกครั้ง แม้ว่าจะไม่เท่ากับช่วงเหตุการณ์ปกติ แต่หากพิจารณาการฟื้นตัวของดัชนีการขายปลีกในช่วงระบาดระลอกแรกหลังคลายล็อกดาวน์ในเดือนพฤษภาคม

ปี 2563 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics คาดว่าร้านอาหาร SMEs จะมีรายได้ 10,000 ล้านบาท สูงมากกว่าเดือนสิงหาคม ปี 2564 กว่าเท่าตัว และในไตรมาส 4 ปี 2564 นี้ หากไม่มีการล็อกดาวน์เกิดขึ้นอีก คาดว่าจะมีรายได้กว่า 3.8 หมื่นล้านบาท

ด้วยสถานการณ์ที่ผ่านมาและแนวโน้มการระบาดที่ควบคุมได้ รวมทั้งการฉีดวัคซีนเป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้คาดการณ์ว่า รายได้ร้านอาหาร SMEs ปี 2564 นี้จะลดลงจากปีก่อนเพียง 7%  และจากแนวโน้มไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ที่ดีขึ้นกว่าไตรมาส 3 จึงเป็นสัญญาณให้ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องเร่งความพร้อมตามแนวทางมาตรการให้สามารถกลับมาเปิดร้านได้อีกครั้ง

เนื่องจากที่ผ่านมาเพียงประคองให้ผ่านช่วงต่ำสุด และจุดเริ่มต้นการผ่อนคลายมาตรการได้ช่วยสะท้อนให้เห็นกำลังซื้อผู้บริโภคที่ยังมีอยู่ และหากมีกลยุทธ์ “2 เพิ่ม 2 หนุน” มาเสริม ย่อมช่วยให้ผู้ประกอบการร้านอาหารมีโอกาสพลิกฟื้นได้เร็วขึ้น

โดย “กลยุทธ์ 2 เพิ่ม” ได้แก่ 1.เพิ่ม…การส่งเสริมการขาย ผู้ประกอบการสามารถพิจารณาทำโปรโมชั่นสินค้าและบริการต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อจูงใจให้กับลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการมากขึ้น 2.เพิ่ม…แผนรองรับความเสี่ยง ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงเกิดขึ้นอยู่ โดยเราไม่อาจทราบได้ว่าเหตุการณ์จะรุนแรงขึ้นหรือไม่ ดังนั้น การเพิ่มแผนสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงอาจทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบน้อยลง เช่น ลดปริมาณในการสั่งของล่วงหน้า หรือวางแผนสำรองในกรณีที่พนักงานในร้านติดเชื้อ เป็นต้น

“กลยุทธ์ 2 เพิ่ม” ข้างต้น เป็นข้อเสนอสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร SMEs ที่สามารถดำเนินการได้ เพื่อจูงใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการที่ร้าน และเป็นการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

 ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรใช้ “กลยุทธ์ 2 หนุน” ช่วย ได้แก่ 1.หนุน…ความมั่นใจให้กับประชาชน เมื่อมีการปรับมาตรการให้ร้านอาหารเปิดได้ ภาครัฐควรวางมาตรการระยะยาว หรือแผนสำรองเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการระบาดระลอกใหม่ และทำให้ธุรกิจร้านอาหารสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยไม่ต้องงดการรับประทานในร้าน 2.หนุน…ลดต้นทุนการจัดการ การออกมาตรการต่าง ๆ ที่สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนมากขึ้น โดยต้องไม่เป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ประกอบการและประชาชน เช่น ภาครัฐสนับสนุนชุดตรวจโควิด (ATK) ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยกระจายจุดตรวจและแจกจ่าย ATK ให้กับประชาชนได้รับบริการได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ภาครัฐสามารถเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 รวมทั้งลดขั้นตอนในการลงทะเบียน หรือกระบวนการต่าง ๆ ในการแสดงหลักฐานว่า ผ่านเงื่อนไขตามหลัก COVID-free setting แล้ว เป็นต้น

การปรับกลยุทธ์การขายและการวางแผนรองรับความเสี่ยง เป็นแนวทางทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้บนความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น และหากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามมาตรการได้ รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคได้ จะทำให้ธุรกิจร้านอาหารสามารถพลิกฟื้นได้อย่างรวดเร็ว


 ที่มา: มติชนออนไลน์ (20 กันยายน 2564)